Friday, January 8, 2010

พอล โกแกง



พอล โกแกง
เออแฌน อองรี พอล โกแกง หรือ พอล โกแกง (ภาษาอังกฤษ: Paul Gauguin หรือ Eugène Henri Paul Gauguin) (7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน

โกแกงเกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903 ที่เกาะในโพลินีเซียฝรั่งเศส นอกจากการเป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังแล้วโกแกงยังทดลองการเขียนที่ใช้สีฉูดฉาดที่นำไปสู่การเขียนแบบสังเคราะห์นิยม (Synthetist) ของศิลปะสมัยใหม่ การเขียนของโกแกงเป็นวิธีที่มีอิทธิพลมาจากลัทธิคลัวซอนนิสม์ที่นำไปสู่งานเขียนที่เป็นแบบที่เรียกว่าบรรพกาลนิยม (Primitivism) และกลับไปสู่จิตรกรรมท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นโกแกงก็ยังมีอิทธิพลต่อภาพพิมพ์ลายแกะ (engraving) และ ภาพพิมพ์แกะไม้ที่ยกระดับขึ้นเป็นงานศิลปะ

วันเกิด 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848
ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
วันเสียชีวิต 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903
เกาะในโพลินีเซียฝรั่งเศส
เชื้อชาติ ฝรั่งเศส
สาขา จิตรกร
ประเภทงาน ภาพเขียนสีน้ำมัน
ยุค อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลัง


ชื่อภาพ“พระเยซูเหลือง” พอล โกแกง สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1889
จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ 91.1 × 73.4 cm หอศิลป์อัลไบรท์น็อกซ์
พระเยซูเหลือง (ภาษาฝรั่งเศส: Le Christ jaune; ภาษาอังกฤษ: The Yellow Christ) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยพอล โกแกงจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อัลไบรท์น็อกซ์

พอล โกแกงเขียนภาพ “พระเยซูเหลือง” ระหว่างฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1889 พร้อมกับภาพ “พระเยซูเขียว” ที่ปองต์อาแวง ซึ่งถือกันว่าเป็นงานสำคัญของการเขียนของลัทธิคลัวซอนนิสม์

โกแก็งไปเที่ยวปองต์อาแวงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1886 และกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1888 และพักอยู่จนเดือนตุลาคมเมื่อกลับไปพบกับฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ ที่อาร์ลเป็นเวลาเพียงสองเดือน เมื่อต้นปี ค.ศ. 1889 โกแก็งก็กลับไปปองต์อาแวงอีกครั้งและพักอยู่ที่นั่นจนฤดูใบไม่ผลิปีต่อมา ระหว่างนั้นโกแก็งก็เขียนภาพ “พระเยซูเหลือง”

“พระเยซูเหลือง” เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางเหนือของฝรั่งเศสเมื่อสตรีเบรตองมาพบและสวดมนต์ด้วยกัน ความศรัทธาร่วมกันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบนกางเขน โกแกงตัดเส้นหนักบนร่างของพระเยซูและไม่ใช้แสงเงามากเท่าบนตัวผู้หญิงที่ล้อมรอบอยู่ข้างล่างภาพ สีเหลือง, แดง และเขียวของภูมิทัศน์ทำให้สีเหลืองของพระเยซูยิ่งเด่นขึ้น การใช้ขอบคันที่หนักและเน้นความแบนราบเป็นลักษณะการเขียนของลัทธิคลัวซอนนิสม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพิ่มเติมจาก(ครูแผน ) http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/05/13/entry-1

พอล โกแกง... ศิลปินหัวขบถขนานแท้!
๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ พอล โกแกง (Paul Gauguin) เสียชีวิต

โกแกง เป็นศิลปินคนสำคัญของฝรั่งเศสในกลุ่ม โพสต์-อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post-Impressionism) เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๓๙๑ ที่กรุงปารีส ตอนอายุ ๓ ขวบครอบครัวต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศเปรู แต่พ่อของเขาเสียชีวิตระหว่างทาง เขากับพี่สาวและแม่ได้อาศัยอยู่กับลุงที่เมืองลิมา (Lima) ซึ่งเมืองนี้ได้สร้างภาพประทับใจให้เขาได้แสดงออกในผลงานศิลปะในเวลาต่อมา

ตอนอายุ ๗ ขวบโกแกงและครอบครัวย้ายกลับไปฝรั่งเศสอีกครั้ง เมื่อมีอายุได้ ๑๗ ปีเขาเข้าทำงานเป็นลูกเรือในเรือเดินสมุทร และเข้ารับราชการทหารกับราชนาวีฝรั่งเศส จากนั้นก็เล่นหุ้น แต่งงานและมีลูก ๕ คน นับว่าเป็นครอบครัวที่มีความสุขเขาใช้เวลาว่างในการเขียนรูป และสะสมผลงานศิลปะ

จนกระทั่งได้รู้จักกับ กามิล ปิซาโร (Camille Pssarro) ศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ขาวฝรั่งเศส ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับศิลปินคนอื่นๆ และบอกให้เขาเขียนรูปของตัวเองต่อไป โกแกงจึงเช่าสตูดิโอและเขียนรูปอิมเพรสชั่นนิสม์อยู่ระหว่างปี ๒๔๒๔ - ๒๔๒๕

อีกสองปีต่อมาเขาพาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แล้ววันหนึ่งเขาก็ตัดสินใจละทิ้งการงานที่มั่นคง ชีวิตที่สะดวกสะบายและครอบครัวเพื่อออกมาเขียนรูปอย่างจริงจัง เขาออกไปเขียนรูปกับปิซาโร เซซาน (Paul Czanne) และแวนโก๊ะห์ (Vincent van Gogh) ในปี ๒๔๓๒ โกแกงได้แสดงงานศิลปะที่ปารีสและเริ่มมีชื่อเสียง

ในระยะนั้นศิลปะตะวันออกและแอฟริกา เริ่มเข้ามาเผยแพร่ในตะวันตก โดยเฉพาะงานพื้นบ้าน (folk art) และภาพพิมพ์ญี่ปุ่น โกแกงมีความสนใจงานศิลปะพื้นบ้านอยู่แล้วจึงตัดสินใจไปใช้ชีวิตเขียนรูปที่เกาะตาฮิติ (Tahiti) ที่นี่เองเขาได้เกิดแรงบันดาลใจ พัฒนาฝีมือสร้างสรรค์งานศิลปะออกมาให้โลกชื่นชมเป็นจำนวนมาก

ภายหลังเขาได้ไปใช้ชีวิตที่เกาะมาร์เควซาส์ (Marquesas) ในบั้นปลายชีวิตเขาตาบอด ป่วยด้วยโรคซิฟิลิส และเสียชีวิตที่นี่ ก่อนจะถูกนำศพไปฝังที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะตาฮิติ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขารักมากที่สุด

ภาพวาดของโกแกงหลังจากที่เป็นชาวเกาะ มักเต็มไปด้วยสีสันสดจัด รูปทรงเรียบง่าย บิดเบี้ยว แบนเพราะไม่มีเงา แต่เต็มไปด้วยเรื่องราวและวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวเกาะ ต่อมาเรียกสไตล์ศิลปะแบบนี้ว่า Synthetism เขาเชื่อว่าศิลปินสามารถสร้างงานที่ดีได้หากได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ โกแกงนับเป็นศิลปินหัวขบถขนานแท้ที่กล้าละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทำงานศิลปะที่ตนรัก โกแกงเป็นศิลปินในกลุ่มโพสต์-อิมเพรสชั่นนิสม์ ร่วมกับเซซาน และ ฟาน ก็อกห์ ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art)

อัลเฟรด ซิสลีย์(ศิลปินImpressionism)


อัลเฟรด ซิสลีย์(ศิลปินImpressionism)
อัลเฟรด ซิสลีย์ (ภาษาอังกฤษ: Alfred Sisley) (30 ตุลาคม ค.ศ. 1839 - 29 มกราคม ค.ศ. 1899) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชั่นนิสม์แบบฝรั่งเศส คนสำคัญของประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape painting)

ชีวิตและงาน

“อัลเฟรด ซิสลีย์” (ค.ศ. 1874) โดย ปีแยร์ ออกุสต์ เรอนัวร์ซิสลีย์เกิดที่ปารีสจากพ่อแม่ผู้มีฐานะ -- วิลเลียม และ เฟลิเชีย เซล เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษที่ 1860 ซิสลีย์ก็ไปศึกษากับมา มาร์ค ชาร์ล เกเบรียล เกลย์ (Marc-Charles-Gabriel Gleyre) ซึ่งเป็นที่ที่ซิสลีย์ทำความรู้จักกับ เฟรดดริค บาซีลล์ (Frédéric Bazille) ปีแยร์ ออกุสต์ เรอนัวร์ และ โคลด โมเนท์ ศิลปินในกลุ่มนี้จะนิยมเขียนภาพภูมิทัศน์นอกสถานที่ (en plein air) เพี่อจะพยายามบันทึกแสงจากธรรมชาติให้ได้ดีที่สุด ในสมัยนั้นการวาดภาพแบบนี้เป็นวิธีใหม่ทำให้ภาพเขียนมีสีสันมากกว่าเดิมซึ่งเป็นแบบที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่คุ้น ฉะนั้นซิสลีย์และบรรดาเพื่อนจิตรกรจึงหาโอกาสที่จะแสดงภาพเขียนยาก หรือขายภาพเขียนกันไม่ได้เท่าใดนัก แต่ซิสลีย์ยังโชคดีกว่าจิตรกรคนอื่นที่ได้รับค่าใช้จ่ายประจำจากพ่อ งานจากสมัยที่ซิสลีย์ยังศึกษาไม่มีเหลือไห้ดู ภาพเขียนภาพแรกที่สุดเท่าที่ทราบคือภาพ “ถนนใกล้เมืองเล็ก” (Lane Near a Small Town) ที่เชื่อว่าเขียนราว ค.ศ. 1864

เมื่อปี ค.ศ. 1866 ซิสลีย์แต่งงานกับยูจีน เลอโซเซค (Eugénie Lesouezec) ชาวบริตานีผู้มีลูกด้วยกันสองคน ความมั่นคงทางการเงินของซิสลีย์มาหยุดลงเมื่อปี ค.ศ. 1870 เมื่อธุรกิจของพ่อล้มละลาย ซิสลีย์จึงต้องหากินจากการขายภาพเขียนของตนเอง หลังจากนั้นซิสลีย์ก็มึชีวิตอย่างยากจนตลอดชีวิต ภาพเขียนของซิสลีย์มามีราคาสูงภายหลังที่ซิสลีย์เสียชีวิตไปแล้ว



ชื่อภาพ“หิมะที่โลเวเซียนส์” (Snow in Louveciennes) – ราว ค.ศ. 1874, พิพิธภัณฑ์ฟิลลิป, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา


ชื่อภาพ“สะพานที่โมเรท์เซอร์ลอยน์” (Pont de Moret-sur-Loing) – ราว ค.ศ. 1885


ชื่อภาพ “ทิวทัศน์คลองเซนตมาร์ติน” (Vue du canal Saint-Martin) – ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส


ชื่อภาพ“ถนนมาชีนใกล้โลเวเซียนส์” (Weg der Maschine, bei Louveciennes) – ราว ค.ศ. 1871-1872, พิพิธภัณฑ์ศิลปะบอสตัน, สหรัฐอเมริกา



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใหม่

ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใหม่
ลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ หรือ ลัทธิประทับใจใหม่ (อังกฤษ: Neo-impressionism) “Neo-impressionism” เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนออง ในปี ค.ศ. 1886 ในการบรรยายขบวนการทางศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอร์ช ปิแยร์ เซอราต์ (Georges Seurat) งานชิ้นเอกของซูราต์ “A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte” (ไทย: บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากรองด์ยัตต์) เป็นงานชิ้นแรกที่เป็นการเริ่มขบวนการของแนวคิดทางศิลปะดังว่าเมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกในนิทรรศการแสดงศิลปะของสมาคมศิลปินอิสระแห่งปารีส ในช่วงเดียวกันนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ของฝรั่งเศสที่จิตรกรหลายคนพยายามแสวงหาวิธีใหม่ในการแสดงออก ผู้ที่ดำเนินตามลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ใหม่โดยเฉพาะจะนิยมวาดภาพฉากต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง และ ภูมิทัศน์และทะเลทัศน์ จิตรกรอิมเพรสชันนิสม์ใหม่จะใช้การตีความหมายของเส้นและลายเชิงวิทยาศาสตร์ในการเขียนภาพ จิตรกรกลุ่มนี้มักจะกล่าวถึงเทคนิคการผสานจุดสีเพราะเป็นลักษณะการเขียนภาพในช่วงแรกของลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ใหม่

แสงและสี
ในช่วงแรกของลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ชอร์ช ปิแยร์ เซอราต์และผู้ติดตามพยายามพัฒนาลักษณะการเขียนที่มาจากแรงกระตุ้นของอารมณ์ (impulsive) และ จากสัญชาตญาณ (intuitive) ของศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ ศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ใหม่จะใช้การประจุดเพื่อที่จะแสดงถึงความมีระเบียบและความยั่งยืนในการวาดภาพ (organization and permanence) ซูราต์พยายามเพิ่มการสร้างเอกลักษณ์ของขบวนการโดยการพยายามให้คำอธิบายถึงทัศนมิติในเรื่องของแสงและอ็อพติค


ชื่อภาพ “A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte” โดย ชอร์ช ปิแยร์ เซอราต์ ราว ค.ศ. 1884–1886



ภาพเหมือนของเฟลิกซ์ เฟเนออง โดย พอล ซินยัค ค.ศ. 1890


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอดวด มาเนท์(ศิลปินImpressionism)


เอดวด มาเนท์(ศิลปินImpressionism)
เอดวด มาเนท์ (ภาษาฝรั่งเศส: Édouard Manet) (23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชั่นนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาเนท์เป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชั่นนิสม์

“อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาเนท์เป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่มๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชั่นนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม่
ชีวิต
เกิดที่ปารีสเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1832 ในครอบครัวที่มีฐานะดี ยูจีนี เดสิเร โฟนิเยร์ (Eugénie-Desirée Fournier) แม่ของเอดวดเป็นลูกสาวของนักการทูตและเป็นหลานสาวของมกุฏราชกุมารสวีเดนชาร์ลส์ เบอร์นาโดทท์ (Charles XIV John of Sweden) เอากุสท์พ่อของเอดวดเป็นผู้พิพากษาผู้มีความประสงค์จะให้ลูกชายมีอาชีพเดียวกัน ชาร์ลส์ โฟนิเยร์ผู้เป็นลุงเป็นผู้ยุยงให้เอดวดเขียนภาพและมักจะพาไปชมภาพเขียนในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในปี ค.ศ. 1845 เอดวดก็สมัครเข้าเรียนการวาดเส้นตามคำแนะนำของลุง ที่ที่พบอองโตนิน พรูสท์ผู้ต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิจิตรศิลป์และกลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันตลอดชีวิต

หลังจากการแนะนำของพ่อ ในปี ค.ศ. 1848 เอดวดก็เดินทางไปกับเรือฝึกงานยังรีโอเดจาเนโร แต่หลังจากที่พยายามสอบเข้าราชนาวีไม่ได้สองครั้ง[1] พ่อของเอดวดจึงได้ยอมให้ลูกหันไปศึกษาทางศิลปะ ระหว่างปี ค.ศ. 1850 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดวดก็ศึกษากับทอมัส คูทัวร์ (Thomas Couture) จิตรกรผู้เชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ เมื่อมีเวลาว่างก็จะไปนั่งวาดรูปเลียนแบบภาพเขียนสำคัญๆ ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์

ระหว่างปี ค.ศ. 1853 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดวดก็เดินทางไปเที่ยวเยอรมันี อิตาลีและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ได้รับอิทธิพลการเขียนภาพของจิตรกรชาวดัตช์ ฟรันส์ ฮาลส์ (Frans Hals) และจิตรกรชาวสเปน ดิเอโก เวลาซ์เกซ (Diego Velázquez) และฟรันซิสโก โกยา

ในปี ค.ศ. 1856 เอดวดก็เปิดห้องภาพของตนเอง ลักษณะการวาดภาพในช่วงเวลานี้เป็นฝีมือแปรงที่หยาบ ใช้รายละเอียดเพียงเล็กน้อย และยังไม่เริ่มใช้การแปลงโทนสี การวาดยังเป็นลักษณะแบบสัจจะนิยมที่ริเริ่มโดยกุสตาฟ คอร์แบท์ (Gustave Courbet) เอดวดเขียนภาพ “คนดื่มเหล้า” (The Absinthe Drinker) ระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึงปี ค.ศ. 1859 และภาพเขียนที่เป็นหัวเรื่องร่วมสมัยเช่น ภาพขอทาน นักร้อง ยิปซี หรือคนในร้านกาแฟ หรือการสู้วัว หลังจากสมัยการเขียนภาพระยะแรกเอดวดไม่ได้เขียนภาพที่เกี่ยวกับศาสนา ตำนานเทพ หรือภาพประวัติศาสตร์ ตัวอย่างภาพเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ก็ได้แก่ “พระเยซูถูกเย้ยหยัน” (Christ Mocked) ที่ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโกที่สหรัฐอเมริกา และ “พระเยซูและเทวดา” (Christ with Angels) ที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันที่นครนิวยอร์ก

ผลงานบ้างส่วนของเอดวด มาเนท์(ศิลปินImpressionism)

ชื่อภาพ“เด็กเล่นขลุ่ย” (Young Flautist, or The Fifer) – ค.ศ. 1866, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส


ชื่อภาพ“ระเบียง” (The Balcony) – ราว ค.ศ. 1868-1869, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส


ชื่อภาพ“เล่นเรือ” (Boating) – ค.ศ. 1874, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Thursday, January 7, 2010

ปวัติเอ็ดการ์ เดอกาส์ (ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์)


ปวัติเอ็ดการ์ เดอกาส์
(ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์)
เอ็ดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 27 กันยายน พ.ศ. 2460) จิตรกร ประติมากร ช่างภาพพิมพ์ และช่างวาด สมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เดอกาส์เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อตั้งศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์แต่เดอกาส์มาหันหลังให้และชอบให้เรียกตนเองว่าศิลปินสัจนิยม (Realist) มากกว่า[1] นอกจากนั้นเดอกาส์ยังเป็นช่างเขียนแบบ (Draughtsman) ที่มีฝีมือดี ภาพที่เดอกาส์ชอบวาดคือภาพนักเต้นบัลเล่ต์ ซึ่งเป็นมากกว่าครึ่งของงานเขียนทั้งหมดที่เดอกาส์ทำ การวาดทำให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของเดอกาส์ในการวาดความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับภาพที่วาดเกี่ยวกับสนามม้าและผู้หญิงเปลือย ภาพเหมือนของเดอกาส์ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่อยู่ในบรรดาภาพเขียนมีลักษณะดีที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะ

เมี่อเริ่มอาชีพเดอกาส์ต้องการจะเป็นจิตรกรประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่เขียนภาพจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์คลาสสิค ประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนา ตำนานเทพเจ้า และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เดอกาส์ก็ได้เตรียมตัวโดยการศึกษามาทางนี้โดยเฉพาะ เมื่ออายุได้ราวสามสิบปีกว่าๆ เดอกาส์ก็เปลื่ยนใจแต่ก็ได้นำความรู้ทางจิตรกรรมประวัติศาสตร์มาผสมกับการวาดภาพร่วมสมัย ฉะนั้นเดอกาส์จึงถือว่าเป้นจิตรกรคลาสสิคที่วาดภาพสมัยใหม่

เบื้องต้น
อีแลร์-แชร์แม็ง-เอ็ดการ์ เดอกาส์ (Hilaire-Germain-Edgar Degas) เกิดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องห้าคนของเซเลสทีน มูส์ซอง เดอ กาส์และเอากุสแตง เดอ กาส์นายธนาคาร ครอบครัวเดอกาส์มีฐานะร่ำรวยพอประมาณ เมื่อเดอกาส์อายุได้ 11 ขวบ (เดอกาส์เปลื่ยนการสะกดนามสกุลตามที่ครอบครัวทำโดยเปลื่ยนการสะกด “เดอ กาส์” (De Gas) มาเป็น “เดอกาส์” (Degas) ตั้งแต่ยังหนุ่มเพื่อเป็นการเลื่ยงการเสรแสร้งที่แสดงว่ามาจากครอบครัวที่มีเชื้อสาย) เดอกาส์เริ่มการศึกษาที่ลิเซ ลุยส์-เลอ-กรองด์ จนจบปริญญาตรี (baccalauréat) ทางวรรณคดีเมื่อ ค.ศ. 1853

เดอกาส์เริ่มวาดภาพอย่างจริงจังตั้งแต่อายุไม่มาก พออายุได้ 18 ปีเดอกาส์ก็จัดห้องหนึ่งในบ้านให้เป็นห้องวาดภาพและเริ่มงานคัดลอกภาพในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ที่ปารีส พ่อของเดอกาส์อยากให้ลูกชายเรียนทางกฎหมาย เดอกาส์จึงสมัครเข้าคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1853 แต่ก็มิได้ใส่ใจในการศึกษาเท่าใดนัก ในปี ค.ศ. 1855 เดอกาส์พบฌอง เอากุสต์ โดมินิค อิงเกรส์ ผู้ที่เดอกาส์นับถือมากแนะนำเดอกาส์ว่า “วาดเส้น, วาดเข้าไป” (draw lines, young man, many lines) ในเดือนเมษายนของปีเดียวกันเดอกาส์ได้รับเข้าสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งปารีส (Ecole des Beaux-Arts) เรียนการวาดเส้นกับลุยส์ ลาโมธโดยวาดตามอิทธิพลของอิงเกรส์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1856 เดอกาส์เดินทางไปอิตาลีและไปอยู่ที่นั่นสามปี เมื่ออยู่ที่อิตาลีเดอกาส์ก็ลอกภาพของไมเคิลแอนเจโล ราฟาเอล และ ทิเชียน และของศิลปินเรอเนซองส์คนอื่นๆ และมักจะเลือกส่วนศีรษะจากฉากแท่นบูชาต่างๆ และวาดหรือเขียนแบบภาพเหมือน ระหว่างช่วงเวลานี้เดอกาส์ศึกษาและกลายเป็นจิตรกรผู้ชำนาญในทางเท็คนิคของการเขียนภาพแบบศิลปะสถาบันและศิลปะคลาสสิค

อาชีพทางศิลปะ
หลังจากกลับจากอิตาลีในปี ค.ศ. 1859 เดอกาส์ก็ศึกษาต่อโดยการลอกภาพจากพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ และยังคงรักการลอกภาพจนกระทั่งอายุกลางคน เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1860 ขณะที่ไปเยื่ยมพอล วาลพิงชองเพื่อนที่รู้จักกันมาแต่เด็กที่นอร์มังดี เดอกาส์ก็เริ่มวาดรูปม้าเป็นครั้งแรก เดอกาส์แสดงภาพเขียนที่นิทรรศการศิลปะที่ปารีส (Salon de Paris) เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1865 เมื่อคณะกรรมการยอมรับภาพ “ฉากสงครามในยุคกลาง” (Scene of War in the Middle Ages) ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจบ้างเพียงเล็กน้อย แม้ว่าเดอกาส์จะแสดงภาพเขียนทุกปีในอีกห้าปีต่อมาที่นิทรรศการแต่ก็ไม่ได้ส่งภาพเขียนแบบประวัติศาสตร์อีกหลังจากภาพแรก ภาพ “การแข่งม้าวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง—จ็อคกี้ตกม้า” (Steeplechase—The Fallen Jockey) ที่แสดงเมื่อปี ค.ศ. 1866 แสดงให้เห็นว่าเดอกาส์เริ่มหันจากการเขียนภาพประวัติศาสตร์มาเขียนภาพร่วมสมัย ความเปลื่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากตัวอย่างของเอดวด มาเนท์ผู้ที่เดอกาส์พบเมื่อปี ค.ศ. 1864 ขณะที่ลอกภาพอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

เอ็ดการ์ เดอกาส์ (ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์)

ชื่อภาพ“ภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ” ค.ศ. 1858-ค.ศ. 1867, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ( Impressionism )

ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ( Impressionism )
มูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดศิลปะคตินิยมอิมเพรสชันนิสม์ พอสรุปได้ดังนี้

เป็นไปตามกฎวิวัฒนาการของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอยางย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามครรลองของชีวิต สภาพหนึ่งสู่สภาพหนึ่ง ไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ และความคิดร่วมสมัยย่อมเบื่อหน่ายกับสิ่งซ้ำซาก จำเจ มีกฎเกณฑ์ยุ่งยาก ไม่มีอิสระ ไม่มีการท้าทายสติปัญญา คตินิยมศิลปะแบบเก่าๆ อาทิเช่น นีโอ-คลาสิค โรแมนติด และเรียลลิสม์ ซึ่งเกิดขึ้นและหมดความนิยมลง ล้วนเป็นบทพิสูจน์อันดีสำหรับกฎวิวัฒนาการ อนึ่ง สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และ ปรัชญาของชีวิตได้แปรเปลี่ยน ไป คำว่าอิสรภาพ เสรีภาพ และภราดรภาพ เป็นหลักทั่วไปในการแสวงหาทางออกใหม่ ลัทธิปัจเจกชนได้รับการนับถือ ทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปตามแนวเสรีนิยม ศิลปินต้องดำรงชีพอยู่ด้วยตนเองไม่มีข้อผูกพันหรือรับคำสั่งในการทำงานดังแต่ก่อน
ความก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ รุดไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การค้นคว้าทฤษฎีแม่สีแสงอาทิตย์เพิ่มเติม และนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เชฟเริล ( Chevereul ) ได้เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีสี เป็นมูลเหตึจูงใจให้ศิลปินเห็นทางใหม่ในการแสดงออก ประกอบกับได้มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายรูป ทำให้เขียนภาพเหมือนจริงลดความนิยมลงไป เพราะสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ให้ผลิตผลที่เหมือนจริงและรวดเร็วกว่า
การคมนาคมโดยทั่วไปได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น ความเคลื่อนไหวถ่ายเททางศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างเป็นไปโดยสะดวก ทำให้ศิลปินมีทรรศนะกว้างขวาง มีความเข้าใจต่อโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1867 มีการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมของญี่ปุ่นขึ้นในปารีสซึ่งก่อให้เกิดแรงดลใจต่อศิลปินหนุ่มสาว หัวก้าวหน้าในยุคนั้นอย่างมากเป็นต้น
มีการพัฒนาสืบทอดความคิดของศิลปินรุ่นก่อนหน้านี้ ได้แก่พวก เรียลลิสต์ ซึ่งนิยมสร้างจากความเป็นจริงที่สามารถมองเห็นได้ และพวกจิตรกรหนุ่มกลุ่มธรรมชาตินิยม โดยเฉพาะพวกกลุ่มบาร์บิซง ซึ่งรวกันไปอยู่ที่หมู่บ้านบาร์บิซง ใกล้ป่าฟองเตนโบล อยู่ไม่ห่างจากปารีสเท่าใดนัก กลุ่มนี้จะยึดถือเอาธรรมชาติ อันได้แก่ ขุนเขาลำเนาไพร เป็นสิ่งที่มีความงามอันบริสุทธิ์และมีคุณค่าสูงสุดพวกเขาจะออกไปวาดภาพ ณ สถานที่ที่ต้องการ ไม่มัวนั่งจินตนาการอยู่ในห้องดังแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับแรงดลใจจากจิตรกรอังกฤษสองคน คือ จอห์น คอนสเตเบิล และ วิลเลียม เทอร์เนอร์ ซึ่งมีแนวการสร้างงานคล้ายกลับกลุ่มบาร์บิซง


รายชื่อของจิตรกร Impressionism
Lucy A. Bacon
เฟรดดริค บาซีลล์ (Frédéric Bazill)
Jean Beraud
แมรี คาซาท (Mary Cassatt)
Gustave Caillebotte
เอ็ดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas)
George Wharton Edwards
Frederick Carl Frieseke
Eva Gonzalès
อาร์มองด์ กีโยแม็ง (Armand Guillaumin)
Childe Hassam
Johan Jongkind
J. Alden Weir
เอดวด มาเนท์ (Édouard Manet)
Willard Metcalf Laura Muntz Lyall
โคลด โมเนท์ (Claude Monet)
Berthe Morisot
William McGregor Paxton
Lilla Cabot Perry
คามิลล์ ปิซาร์โร (Camille Pissarro)
ปีแยร์-ออกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir)
Theodore Robinson
Zinaida Serebryakova
อัลเฟรด ซิสลีย์ (Alfred Sisley)
John Henry Twachtman
เป็นต้น

ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ Impressionism

ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ Impressionism

เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วง ทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโคลด โมเนท์ที่มีชื่อว่า Impression , Sunrise และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่า Louis Leroy ก็ได้ให้กำเนิดคำ ๆนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่ง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและ วรรณกรรม
ลักษณะ
ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ คือ การใช้พู่กันตระหวัดสีอย่างเข้มๆ ใช้สีสว่างๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดาๆ และมีมุมมองที่พิเศษ

จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปร เปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่างๆ

ภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ ประกอบด้วยการตระหวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้นๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนาๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้างๆ มากกว่ารายละเอียด


ประวัติ
ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม สถาบัน Academie des Beaux –arts มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ สิบเก้า ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน จึงกล่าวได้ว่า Academie ได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) Academie ยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบๆ ตามแบบเก่าๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี Academie ยังสนับสนุนให้เหล่า จิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้องแยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง

ในปี ค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le dejeuner sur l’herbe)


โดย Edouard Manet เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้างๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาดๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม

มาเนต์ (ไม่ใช่โมเนต์) อับอายยิ่งนักกับการที่พวกกรรมการปฏิเสธโดยใช้คำพูดแบบเจ็บแสบ ซึ่งทำให้บรรดาศิลปินฝรั่งเศสทั้งหลายเริ่มแสดงความไม่พอใจกันมาก ถึงแม้มาเนต์จะไม่ถือว่าตัวเองเป็นพวกImpressionism เขาก็เป็นคนเปิดอภิปรายใน ร้านกาแฟ Guerbois ที่ซึ่งพวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ มารวมตัวกันและมีอิทธิพลต่อ การค้นหารูปแบบใหม่ ของกลุ่มๆ นั้น

ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเองและ งานแสดงภาพ Salon des Refues (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) ก็ถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ (ถึงแม้จะไม่รู้จักว่าชื่ออะไรกันบ้าง) ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy (นักแกะสลัก จิตรกรและนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง) ได้เขียนบทวิจารณ์แบบเจ็บๆ แสบๆ ลงในหนังสือพิมพ์ Charivari โดยเน้นการโจมตีไปที่ภาพวาดโดยจิตรกรโนเนมในขณะนั้นที่เขาตั้งชื่อในบทความว่า “การแสดงภาพวาดของจิตรกร Impressionism” เลอโรย์ประกาศว่าภาพวาดที่ชื่อว่า Impression ,Sunrise ของโมเนต์อย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวกๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย

ถึงแม้คำว่าอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นคำเสียดสีของนักเขียนท่านนี้ แต่พวกศิลปินกลับชื่นชอบมันและเห็นว่าเป็นคำเรียกแบบให้เกียรติกัน ถึงแม้รูปแบบและมาตรฐานของแต่ละคนจะแตกต่างแปรเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ ร้อยรัดพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นขบถและความเป็นตัวของตัวเองถึงแม้ในอดีต การวาดภาพจะถูกมองอยู่เสมอว่านำเสนอสิ่งต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และทางศาสนาในลักษณะที่เป็นทางการ แต่ความจริงศิลปินหลายท่านก็วาดภาพถึงสิ่งที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน จิตรกรชาวDutchในศวรรษที่ 19 อย่างเช่นยาน สตีนมุ่งเน้นไปที่วัตถุธรรมดา แต่ว่างานของพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่าๆ ในการจัดวางฉาก เมื่อศิลปะแนว อิมเพรสชั่นนิสม์ เกิดขึ้น พวกศิลปินก็สนใจในการวาดภาพต่อสิ่งธรรมดาดาดๆและนิยมการเก็บภาพด้วยวิธีใหม่

ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยมและกล้องถ่ายรูปก็พกพาได้ง่ายขึ้น ส่วนภาพถ่ายก็ให้ความสมจริงขึ้นเรื่อย ๆ ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ Japonism (เป็นอย่างไรโปรดอ่านต่อข้างล่าง) ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินImpressionism ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ภาพวาดของ Edgar Degas ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อนและ ด้านล่างขวามือเป็นภาพของพื้นว่างเปล่า

ที่มา:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Monday, January 4, 2010

ภาพเขียนสมัยหลังของ Monet

ภาพเขียนสมัยหลังของ Monet

ชื่อภาพ“หน้าผาที่เอทเทรทาท์” (The Cliffs at Etretat) – ค.ศ. 1885, สถาบันศิลปะคลาร์ค, วิลเลียมสทาวน์, มลรัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา

------------------------------------------------

ชื่อภาพ“ภาพนิ่งกับดอกแอนนิโมนี” (Still-Life with Anemones) – ค.ศ. 1885, ภาพสะสมส่วนบุคคล, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส

-------------------------------------------------

ชื่อภาพ“กองฟาง (พระอาทิตย์ตก)” (The Cliffs at Etretat) – ค.ศ. 1890-1891, พิพิธภัณฑ์ศิลปะบอสตัน, สหรัฐอเมริกา

--------------------------------------------------

ชื่อภาพ“มหาวิหารรูออง (พระอาทิตย์ตก)” – ค.ศ. 1892-1894, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-โมเนท์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
--------------------------------------------------

ชื่อภาพ“สะพานข้ามสระบัว” (Bridge over a Pool of Water Lilies) – ค.ศ. 1899, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
--------------------------------------------------

ชื่อภาพ“พอพพลาบนฝั่งน้ำเอพ” (Pappeln on the Epte) – ค.ศ. 1900, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์

--------------------------------------------------

ชื่อภาพ“ตึกรัฐสภาอังกฤษ ลอนดอน” (Houses of Parliament, London) – ค.ศ. 1904, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-โมเนท์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส

--------------------------------------------------

ชื่อภาพ“วังที่เวนิส” (Palace From Mula, Venice) – ค.ศ. 1908, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา

---------------------------------------------------

ชื่อภาพ “Nympheas” – ราว ค.ศ. 1916, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-โมเนท์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
---------------------------------------------------

ชื่อภาพ“บัวน้ำ” (Water Lilies) – ค.ศ. 1916, พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ, โตเกียว, ประเทศ

ที่มา:http://th.wikipedia.org

รวมภาพยุคแรกของ Monet

รวมภาพยุคแรกของ Monet
ภาพเขียนสมัยแรก

“Le dejeuner sur lherbe” – ค.ศ. 1865-1866, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งพุชคิน, มอสโคว์

-----------------------------------------------

“Le dejeuner sur lherbe” (ด้านขวาเป็นกุสตาฟ คูเบท์) – ค.ศ. 1865-1866, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส

------------------------------------------------

“สวนดอกไม้ที่ซังแอดเดรส” (Flowering Garden at Sainte-Adresse) – ค.ศ. 1866, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
------------------------------------------------

“ผู้หญิงในสวน” (Woman in a Garden) – ค.ศ. 1867, พิพิธภัณฑ์เฮอร์มืทาจ, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

------------------------------------------------

“สวนที่ซังแอดเดรส” (Jardin à Sainte-Adresse) – ค.ศ. 1867, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
-------------------------------------------------

“ลุ่มแม่น้ำเซนกับอาร์จองทุย” (Seine Basin with Argenteuil) – ค.ศ. 1875, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
--------------------------------------------------

“ผู้หญิงกางร่ม” (Woman with a Parasol) – ค.ศ. 1867, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา

--------------------------------------------------

“อาร์จองทุย” (Argenteuil) – ค.ศ. 1875, Musée de l'Orangerie, ปารีส
Painting information
Artist Claude Monet (2382 หรือ 2383(1840)–2468 หรือ 2469(1926))
ชื่ออื่น Oscar-Claude Monet
คำอธิบาย French painter
วันเกิด/วันเสียชีวิต 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383(1840-11-14) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2469(1926-12-06)
สถานที่เกิด/สถานที่เสียชีวิต ปารีส Giverny
สถานที่สร้างสรรค์งาน ปารีส, Argenteuil, Vétheuil, Giverny

Title Français : Argenteuil
Year 2417 หรือ 2418(1875)
Dimensions 56 x 67 cm

-------------------------------------------------

“เวทุยในหมอก” (Vétheuil in the Fog) – ค.ศ. 1879, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-โมเนท์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
คำอธิบายภาพ Vétheuil dans le brouillard.jpg
Vétheuil dans le brouillard, óleo sobre tela

วันที่สร้างสรรค์ 2421 หรือ 2422(1879)

แหล่งที่มา: Museu Marmottan
http://th.wikipedia.org

ชีวิตสมัยหลังของโคลด โมเนท์ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่


ชีวิตสมัยหลังของโคลด โมเนท์ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่
หลังจากโมเนท์โศรกเศร้ากับการตายของคามิลล์อยู่หลายเดือนโมเนท์ก็สัญญากับตนเองว่าจะไม่ยอมเป็นทาสความยากไร้อีก โดยเริ่มเขียนภาพจริงๆ จังๆ และสร้างงานที่ดึที่สุดของตนเองของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1880 โมเนท์ก็วาดภาพภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศสด้วยความตั้งใจที่จะทำเป็นหลักฐานของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการวาดภาพเป็นชุดหลายชุดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศส

เมื่อปีค.ศ. 1878 โมเนท์และคามิลล์ย้ายไปอยู่ที่บ้านของเอิร์นเนส โอเชด (Ernest Hoschedé) เป็นการชั่วคราว โอเชดเป็นเจ้าของร้านสรรพสินค้าผู้มีฐานะและเป็นผู้อุปถัมป์ศิลปิน สองครอบครัวนี้ก็อยู่ด้วยกันที่เวทุย (Vétheuil) ระหว่างหน้าร้อน หลังจากที่เอิร์นเนสล้มละลายและย้ายไปประเทศเบลเยียมเมื่อปีค.ศ. 1878 และหลังจากที่คามิลล์เสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 โมเนท์ก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เวทุย โดยมีอลิซ ภรรยาของเอิร์นเนส โอเชดก็ช่วยโมเนท์ดูแลบุตรชายสองคน อลิซนำลูกของโมเนท์ไปเลี้ยงร่วมกับลูกของอลิซเองอีก 6 คนที่ปารีสอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายกลับมาเวทุยพร้อมกับลูกๆ อีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1880 ในปีค.ศ. 1881 ทั้งสองครอบครัวก็ย้ายไปปอยซี (Poissy) ซึ่งเป็นที่ที่โมเนท์ไม่ชอบ จากหน้าต่างรถไฟระหว่างแวร์นองและกาสนีโมเนท์ก็พบจิแวร์นีย์ (Giverny) ในนอร์มังดี ในเดือนเมษายนปีค.ศ. 1883 โมเนท์ก็ย้ายไปแวร์นองและต่อมาจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นที่ที่โมเนท์ทำสวนขนาดใหญ่และเป็นที่ที่โมเนท์เขียนภาพตลอดในบั้นปลายของชีวิต หลังจากเอิร์นเนสเสียชีวิต อลิซก็แต่งงานกับโมเนท์เมื่อปีค.ศ. 1892

บ้านและสวนที่จิแวร์นีย์-โคลด โมเนท์
จิแวร์นีย์
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1883 โมเนท์ก็เช่าที่ดินสองเอเคอร์ที่จิแวร์นีย์จากเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ตัวบ้านตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักระหว่างแวร์นองกับกาสนี ตัวบ้านมีโรงนาที่โมเนท์ใช้เป็นห้องสำหรับเขียนภาพ ภูมิทัศน์บริเวณนั้นก็เหมาะกับการเขียนภาพของโมเนท์ นอกจากนั้นครอบครัวก็ยังช่วยกันทำสวนดอกไม้ใหญ่ ฐานะของโมเนท์ก็เริ่มดีขึ้นเมื่อมีพอล ดูรานด์ รูลเป็นนายหน้าขายภาพเขียนให้ ในปี ค.ศ. 1890 โมเนท์ก็มีฐานะดีพอที่จะซื้อบ้าน สิ่งก่อสร้างในบริเวณนั้น และที่ดินเป็นของตนเอง ต่อมาโมเนท์ก็สร้างห้องเขียนภาพอีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นห้องที่ใหญ่กว่าเดิมและเป็นเพดานที่มีแสงส่องเข้ามาได้ ตั้งแต่คริสต์ทศศตวรรษ 1880 จนกระทั่งโมเนท์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1926 โมเนท์เขียนภาพหลายชุดสำหรับการแสดงภาพเขียน ซึ่งแต่ละชุดโมเนท์ก็จะวาดตัวแบบเดียวกันแต่จากมุมต่างๆกันและต่างเวลากันตามแต่แสงและภาวะอากาศจะเปลี่ยนแสงสีของสิ่งที่วาด เช่นภาพชุดกองฟางที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1890-1891 ซึ่งเขียนจากหลายมุมและต่างฤดูและต่างเวลากันในแต่ละวัน ภาพเขียนชุดอื่นๆ ที่โมเนท์ก็ได้แก่ ชุดมหาวิหารรูออง, ชุดต้นพอพพลา, ชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ, ชุดยามเช้าบนฝั่งแม่น้ำเซน, และชุดดอกบัวซึ่งโมเนท์เขียนที่จิแวร์นีย์

บางครั้งโมเนท์ยังชอบเขียนภาพธรรมชาติที่ตกแต่งแล้วเช่นภายในสวนที่โมเนท์จัดตกแต่งเองที่บ้านจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นสวนที่มีสระน้ำ, สะพานเล็กๆ ข้ามสระ, ต้นวิลโลร้องไห้, และดอกบัว ซึ่งสวนจริงยังมีให้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนั้นก็ยังเดินขึ้นล่องริมฝั่งแม่น้ำเซนเพื่อเขียนรูป ระหว่างปี ค.ศ. 1883 ถึงปี ค.ศ. 1908 โมเนท์เดินทางไปเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งโมเนท์เขียนภาพสิ่งที่น่าสนใจ, ภูมิทัศน์ และ ทะเลทัศน์ เมื่อไปเวนิสโมเนท์ก็เขียนภาพชุดเวนิส และลอนดอนเป็นชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ และสะพานชาริงครอส

อลิซและลูกชายคนโตของโมเนท์ผู้แต่งงานกับแบลนช์ ลูกสาวคนโตของอลิซเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1911 หลังจากนั้นแบลนช์ก็ดูแลโมเนท์ ระหว่างนี้โมเนท์ก็เริ่มเป็นต้อ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลูกชายคนที่สองเป็นทหารและจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clemenceau) ผู้เป็นเพื่อนและผู้นำฝรั่งเศส โมเนท์เขียนภาพชุด “วิลโลร้องไห้” (Weeping Willow) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวฝรั่งเศสผู้เสียชีวิตในสงคราม โมเนท์ได้รับการผ่าตัดต้อสองครั้งในปี ค.ศ. 1923 ต้อของโมเนท์มีผลต่อสีของภาพเขียนๆ ระหว่างที่เป็นต้อจะออกโทนแดงซึ่งเป็นลักษณะของผู้เป็นต้อ นอกจากนั้นโมเนท์ยังสามารถมองเห็นคลื่นแสงอัลตราไวโอเล็ทที่ตาปกติจะมองไม่เห็นซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการเห็นสีของโมเนท์ หลังจากผ่าตัดแล้วโมเนท์ก็พยายามทาสีบางภาพใหม่ เช่นภาพชุดดอกบัวที่เป็นสีน้ำเงินกว่าเมื่อก่อนได้รับการผ่าตัด

โมเนท์เสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ปอดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926 เมื่ออายุ 86 ปี ร่างของโมเนท์ถูกฝังไว้ที่วัดที่จิแวร์นีย์ โมเนท์ขอให้เป็นพิธีง่ายๆ ฉะนั้นจึงมีผู้ร่วมงานศพเพียง 50 คน

เมื่อปี ค.ศ. 1966 ลูกหลานของโมเนท์ก็ยกบ้าน สวนและบึงบัวให้กับสถาบันศิลปะแห่งฝรั่งเศส (Academy of Fine Arts) ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 นอกจากสิ่งของของโมเนท์แล้ว ภายในบ้านยังเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่น (Japanese woodcut prints) ที่โมเนท์สะสมด้วย

ที่มา:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปวัติและชีวิตของโคลด โมเนท์[Monet]


ปวัติและชีวิตของโคลด โมเนท์[Monet]

โคลด โมเนท์ (ภาษาฝรั่งเศส: Claude Monet หรือ Oscar-Claude Monet หรือ Claude Oscar Monet) (14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชั่นนิสม์ และเป็นจิตรกรคนสำค้ญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่มศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์และมีบทบาทสำคัญในปรัชญาและการปฏิบัติของขบวนการนี้ ซึ่งเป็นการวาดภาพจากความประทับใจในสิ่งที่เห็นของผู้วาด (perception) แทนที่จะพยายามทำให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในจิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape painting) คำว่า “Impressionism” มาจากชื่อภาพเขียนของโมเนท์เองชื่อ “Impression, Sunrise” (ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น)

ชีวิตเบื้องต้น
โมเนท์เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 บนชั้น 5 ของบ้านเลขที่ 45 ถนนลาฟีตเขต 9 ในปารีส[3] เป็นลูกชายคนที่สองของโคลด อดอลฟ และลุย จุสตีน โอเบรผู้เป็นนักร้อง ทั้งสองคนเป็นชาวปารีสชั่วคนที่สอง โมเนท์รับศึลจุ่มเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมปีต่อมาที่วัดโนทเตรอตามเดอโลเร็ต ในชื่อ ออสคาร์ โคลด เมื่อปี ค.ศ. 1845, ครอบครัวของโมเนท์ย้ายไปเมืองลาฟ (Le Havre) ในนอร์มังดีทางเหนือของฝรั่งเศส พ่อของโมเนท์อยากให้โมเนท์ทำกิจการร้านขายของชำของครอบครัวแต่โมเนท์อยากเป็นศิลปิน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1851 โมเนท์ก็เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนมัธยมศิลปะที่ลาฟ และเป็นที่รู้จักกันในฝีมือการเขียนรูปการ์ตูน (caricature) ด้วยถ่านที่โมเนท์ขายในราคา 10 ถึง 20 ฟรังส์ นอกจากนั้นโมเนท์ก็ยังเรียนการเขียนภาพเป็นครั้งแรกกับยาร์ค ฟรองซัวส์ โอชารด์ (Jacques-François Ochard) ผู้เป็นลูกศิษย์ของยาร์ค หลุยส์ เดวิด (Jacques-Louis David) ระหว่างปี ค.ศ. 1856-1857 โมเนท์พบยูจีน บูแดง (Eugène Boudin) ผู้เป็นจิตรกรและผู้ที่โมเนท์ถือว่าเป็นครูและเป็นผู้สอนให้โมเนท์วาดภาพด้วยด้วยสีน้ำมัน และสอนวิธีวาดภาพ “นอกสถานที่” (en plein air)

แม่ของโมเนท์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1857 เมื่อโมเนท์อายุได้ 16 โมเนท์ก็ลาออกจากโรงเรียนไปอยู่กับน้ามารี จอง เลอคาเดร (Marie-Jeanne Lecadre) ผู้เป็นแม่ม่ายและไม่มีลูกของตนเอง

ปารีส
เมื่อโมเนท์ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ที่ปารีส โมเนท์พบว่างานเขียนที่เห็นในพิพิธภัณฑ์เป็นภาพที่ลอกมาจากภาพของครูบาสมัยเก่า แทนที่จะนั่งลอกภาพเขียนที่แขวนในพิพิธภัณฑ์ โมเนท์ก็กลับเอาขาหยั่งไปตั้งริมหน้าต่างและวาดภาพสิ่งที่เห็นนอกหน้าต่าง โมเนท์อยู่ปารีสเป็นเวลาหลายปีและได้พบจิตรกรหลายคนผู้กลายมาเป็นเพื่อนและจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์ร่วมสมัยของโมเนท์ เพื่อนคนหนึ่งของโมเนท์คือเอดวด มาเนท์

เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1861 โมเนท์สมัครเป็นทหารกับกอง First Regiment of African Light Cavalry ในประเทศแอลจีเรียโมเนท์เป็นทหารอยู่ได้สองปีก็เป็นไข้ไทฟอยด์ มาดามเลอคาเดรจึงให้โมเนท์ลาออกจากการเป็นทหารโดยให้สัญญาว่าต้องไปเรียนวิชาศิลปะต่อให้จบที่มหาวิทยาลัย อาจจะเป็นได้ว่าโยฮันน์ ยองคินด์ (Johan Jongkind) จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ผู้โมเนท์รู้จัก มีส่วนในการให้ข้อเสนอแนะนี้ แต่โมเนท์ก็ไม่พอใจกับทฤษฏีการสอนตามแบบที่ทำกันมาของมหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1862 โมเนท์ก็ไปเป็นลูกศิษย์ของมาร์ค ชาร์ล เกเบรียล เกลร์ (Marc-Charles-Gabriel Gleyre) ที่ปารีสซึ่งเป็นที่ที่โมเนท์ได้พบปีแยร์ ออกุสต์ เรอนัวร์, เฟรดดริค บาซีลล์ (Frédéric Bazille) และ อัลเฟรด ซิสลีย์ สามคนนี้ก็มีแนวนิยมในการเขียนภาพแบบใหม่ร่วมกัน--การเขียนที่พิจารณาถึงผลของแสงที่มีต่อสิ่งที่วาดนอกสถานที่ การใช้แสงแตกหัก และฝีแปรงที่หยาบที่กลายมาเป็นลักษณะอิมเพรสชั่นนิสม์ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

เมื่อปี ค.ศ. 1866 โมเนท์เขียนภาพ “คามิลล์” (Camille) และ “ผู้หญิงในชุดเขียว” (La Femme à la Robe Verte) ซึ่งเป็นภาพที่นำชื่อเสียงมาสู่โมเนท์ และเป็นภาพในบรรดาหลายภาพที่โมเนท์เขียนโดยมีคามิลล์ ดองโซเป็นแบบ หลังจากนั้นไม่นานคามิลล์ก็ท้องและมีลูกคนแรกด้วยกันกับโมเนท์--ฌอง โมเนท์ เมื่อปี ค.ศ. 1866 โมเนท์พยายามกระโดดน้ำฆ่าตัวตายซึ่งคงมาจากปัญหาความขัดสน

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย, อิมเพรสชั่นนิสม์, และ อาร์จองทุย

“เรือประมงออกจากอ่าว” (ลาฟ)หลังจากเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 โมเนท์ก็ลี้ภัยไปอยู่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1870 ขณะที่อยู่ที่นั่นโมเนท์ก็ศึกษางานภาพภูมิทัศน์ของ จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable) และ โจเซฟ มัลลอร์ด วิลเลียม เทอร์เนอร์ (Joseph Mallord William Turner) ซึ่งมามีอิทธิพลต่อการศึกษาเรื่องการใช้สี เมื่อฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1871 ทางราชสถาบันศิลปะ (Royal Academy) ไม่ยอมแสดงผลงานของโมเนท์

เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1871 โมเนท์ก็ย้ายจากลอนดอนไปซานดาม (Zaandam) ในประเทศเนเธอร์แลนด์[6] ซึ่งเป็นที่โมเนท์เขียนภาพ 25 ภาพ (เป็นที่ที่ตำรวจสงสัยว่าโมเนท์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ) จากซานดามโมเนท์ก็มีโอกาสไปอัมสเตอร์ดัมซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1871 โมเนท์ก็ย้ายกลับปารีส ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1871 ถึง ค.ศ. 1878 โมเนท์อาศัยอยู่ที่ อาร์จองทุย (Argenteuil) ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเซนใกล้ปารีส และเป็นที่ที่โมเนท์วาดภาพที่กลายมาเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของโมเนท์ และเป็นภาพที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายหลายภาพ ในปี ค.ศ. 1874 โมเนท์กลับไปเนเธอร์แลนด์อยู่ระยะหนึ่ง

ประมาณปี ค.ศ. 1872 หรือ 1873 โมเนท์วาดภาพ “Impression, Sunrise” (Impression: soleil levant—ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น) ซึ่งเป็นภาพภูมิทัศน์ของลาฟ ภาพนี้ตั้งแสดงที่งานนิทรรศการศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1874 ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-โมเนท์ ที่ปารีส หลุยส์ เลอรอยนักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำ “อิมเพรสชั่นนิสม์” จากชื่อภาพในการบรรยายศิลปะลักษณะนี้อย่างเยาะๆ แต่จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์นิยมคำและเริ่มใช้เรียกตัวเอง

โมเนท์และคามิลล์ ดองโซแต่งงานกันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1870 ไม่นานก่อนเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย พอปี ค.ศ. 1876 คามิลล์ก็เริ่มป่วย หลังจากมีมิเชลลูกคนที่สองเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1878 สุขภาพของคามิลล์ก็เสื่อมลง ในที่สุดก็เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 32 ปีด้วยวัณโรคเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1879 โมเนท์วาดภาพคามิลล์บนเตียงที่คามิลล์นอนป่วp

ที่มา:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี